เดิมตำบลคลองหกมีชื่อเรียกว่า “ตำบลตะเคียน” ขึ้นอยู่กับอำเภอบางหวาย เมืองธัญบุรี (จังหวัดปทุมธานี ปี 2475) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี สภาพพื้นที่เดิมเป็นที่ราบลุ่ม บางแห่งเป็นป่าทึบ ประกอบด้วยพันธ์ไม้นานาชนิด มีสัตว์ป่าชุกชุม อยู่ตอนใต้ของทิศตะวันออกของอำเภอ การกระจายตัวของประชาชนอยู่เป็นแห่งๆ ประกอบอาชีพล่าสัตว์ ทาไร่เลื่อนลอย การเดินทางลำบากยากยิ่ง ประชาชนจึงเดินทางด้วยการใช้ช้าง ม้า เป็นพาหนะ ต่อมามีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น สภาพพื้นที่เดิมก็ได้แปรสภาพเป็นพื้นที่ราบทั้งหมด และบางแห่งเป็นป่าละเมาะ ประชาชนเริ่มรู้จักเพาะปลูกเป็นที่เป็นทาง มีการเลี้ยงสัตว์ต่อเนื่องไปจรดเขตพื้นที่ทุ่งหลวง(อาเภอธัญบุรีในปัจจุบัน) จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริว่า ควรจะทำประโยชน์แก่ประชาราษฎร์ในด้านการเกษตรให้มากที่สุด จึงโปรดเกล้าให้ “บริษัทขุดคลองและคูนาสยาม” ริเริ่มการขุดคลองส่งน้ำชลประทานขึ้นมา ในบริเวณท้องทุ่งนี้ คลองแรกเรียกว่า “คลองรังสิตประยูรศักดิ์” และคลองซอยจากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ข้างละ 20 คลอง รวมเป็น 40 คลอง มีขนาดกว้างตั้งแต่ 3 – 5 วา ลึกตั้งแต่ 3 – 5 ศอก สาหรับตำบลบึงตะเคียน(ตำบลคลองหกในปัจจุบัน) มีพื้นที่อยู่ระหว่างคลองซอยที่ 6 ฝั่งตะวันตกถึงคลองแอน 5 ระยะทาง 1,200 เมตร และถึงคลอง 7 ฝั่งตะวันตก ทำให้พื้นที่เดิมซึ่งเป็นป่าดงรกชัฏ ดินดีแต่ขาดน้ำเพราะไม่มีคลองไหลผ่าน เริ่มมีน้ำมากเพียงพอต่อการเพาะปลูก ประชาชนก็เริ่มเข้ามาทากินและอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น
ต่อมาในปี พ.ศ.2486 ทางราชการเห็นว่าสภาพพื้นที่มีคลองซอยต่างๆ แบ่งแยกออกเป็นแต่ละตำบล จึงเห็นควรให้มีการเปลี่ยนชื่อตำบลใหม่ จึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อตำบลใหม่เป็น “ตำบลคลองหก” และต่อมาพื้นที่ตำบลคลองหกมีประชากรและบ้านเรือนมากขึ้น ทางราชการจึงได้ประกาศแบ่งแยกพื้นที่ส่วนหนึ่งของตำบลคลองหก ตั้งแต่คลองแอน 7 ซึ่งห่างจากคลองซอยที่ 6 ประมาณ 1,200 เมตร เป็นตำบลคลองเจ็ด ในปี พ.ศ. 2527
การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก ได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538
ตามราชกิจจานุเบกษา 302 ตอนพิเศษ 6 ง วันที่ 3 มีนาคม 2538
1. ลักษณะที่ตั้ง/อาณาเขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก ตั้งอยู่ เลขที่ 16/3 หมู่ที่ 11 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอคลองหลวง ห่างจากที่ว่าการอำเภอคลองหลวง ประมาณ 18 กิโลเมตร องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก มีเนื้อที่โดยประมาณ 37.9 ตำรางกิโลเมตร หรือ 23,687.5 ไร่
อำณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดกับเขต อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทิศใต้
ติดกับเขต เทศบาลตำบลธัญบุรี อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ทิศตะวันออก
ติดกับเขต ตำบลคลองเจ็ด อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
ทิศตะวันตก
ติดต่อเขต ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
เขตการปกครองมีจานวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเต็มทั้งหมู่บ้าน 14 หมู่บ้าน ดังนี้
บ้านคลองหกหมู่ที่ 1 บ้านคลองหกหมู่ที่ 8
บ้านคลองหกหมู่ที่ 2 บ้านคลองหกหมู่ที่ 9
บ้านคลองหกหมู่ที่ 3 บ้านคลองหกหมู่ที่ 10 บ้านคลองหกหมู่ที่ 4 บ้านคลองหกหมู่ที่ 11 บ้านคลองหกหมู่ที่ 5 บ้านคลองหกหมู่ที่ 12
บ้านคลองหกหมู่ที่ 6 บ้านคลองหกหมู่ที่ 13
บ้านคลองหกหมู่ที่ 7 บ้านคลองหกหมู่ที่ 14
2. สภาพภูมิประเทศ
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก มีสภาพเป็นที่ราบลุ่มทั้งพื้นที่ มีลาคลอง 4 สาย และคลองแอนคั่นระหว่างตำบลคลองห้ากับตำบลคลองหก และตำบลคลองหกกับตำบลคลองเจ็ด และคลองซอยในหมู่บ้านหลายแห่ง ซึ่งสภาพภูมิประเทศมีแหล่งน้าอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเกษตร
1. ด้านคมนาคม
ตำบลคลองหกอยู่ห่างจากตัวจังหวัดปทุมธานี ประมาณ 47 กิโลเมตร การเดินทางในปัจจุบันสะดวกมาก โดยเดินทางทางรถยนต์ ถนนสายหลักที่ใช้ในการคมนาคม / ขนส่ง คือ ถนนคลองหลวง - หนองเสือ ถนนลาลูกกา-วังน้อย ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก มีรถประจาทางร่วมบริการผ่านคือสาย รังสิต – หนองเสือ และสาย1156 รังสิต - หมู่บ้านมาลีรมย์ 5 การเดินทางของราษฎรส่วนใหญ่ใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ส่วนตัว และรถจักรยานยนต์รับจ้างทั่วไป
2. ด้านโทรคมนาคม
- มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข (เอกชน) จานวน 2 แห่ง
- มีโทรศัพท์ใช้หมู่ 1 – 14 (แค่บางครัวเรือน)
- มีจุดบริการอินเตอร์เน็ทตำบล (อินเตอร์เน็ทระบบความเร็วสูง) จานวน 1 แห่ง
3. ด้านการไฟฟ้า ทั้ง 14 หมู่บ้าน มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน
4. ด้านแหล่งน้ำ
- มีลำคลองส่งน้ำ 2 สาย - มีคลองแอน 2 สาย
- มีคลองซอยหลายแห่งทุกหมู่บ้าน - มีระบบประปาหมู่บ้าน 14 แห่ง
5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล - ไม่มี -
1.อาชีพของประชากร
- ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก คือ ทำนา ทำสวน ทำไร่ เป็นส่วนใหญ่
- ประกอบอาชีพค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว และโรงงานขนาดเล็กและขนาดย่อมเป็นส่วนน้อย
- มีการเดินทางไปทางานในโรงงานนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นส่วนน้อย
2. หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
- ธนาคาร 1 แห่ง
- โรงแรม - ไม่มี -
- มีปั๊มน้ำมันและก๊าซ 3 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม 5 แห่ง
1. ประชากร มีประชากรทั้งหมด 11,615 คน แยกเป็นชาย 5,617 คน แยกเป็นหญิง 5,998 คน จานวนครัวเรือน 5,384 ครัวเรือน (ข้อมูลจากทะเบียนราษฎรอาเภอคลองหลวง วันที่ 8 เมษายน 2558)
หมู่บ้าน | ชาย | หญิง | รวม | จานวนครัวเรือน |
บ้านคลองหก หมู่ที่ 1 | 893 | 952 | 1,845 | 1,846 |
บ้านคลองหก หมู่ที่ 2 | 462 | 446 | 908 | 419 |
บ้านคลองหก หมู่ที่ 3 | 532 | 555 | 1,087 | 419 |
บ้านคลองหก หมู่ที่ 4 | 172 | 197 | 369 | 318 |
บ้านคลองหก หมู่ที่ 5 | 374 | 396 | 770 | 348 |
บ้านคลองหก หมู่ที่ 6 | 331 | 310 | 641 | 200 |
บ้านคลองหก หมู่ที่ 7 | 428 | 493 | 921 | 496 |
บ้านคลองหก หมู่ที่ 8 | 277 | 328 | 605 | 155 |
บ้านคลองหก หมู่ที่ 9 | 380 | 425 | 805 | 219 |
บ้านคลองหก หมู่ที่ 10 | 191 | 172 | 363 | 117 |
บ้านคลองหก หมู่ที่ 11 | 379 | 475 | 854 | 235 |
บ้านคลองหก หมู่ที่ 12 | 322 | 363 | 685 | 165 |
บ้านคลองหก หมู่ที่ 13 | 492 | 519 | 1,011 | 257 |
บ้านคลองหก หมู่ที่ 14 | 384 | 367 | 751 | 190 |
รวม | 5,617 | 5,998 | 11,615 | 5,384 |
-มีโรงเรียนประถมศึกษา 5 แห่ง (ภาครัฐ)
1. โรงเรียนวัดหว่านบุญ 2. โรงเรียนลิ้นจี่อุทิศ
3. โรงเรียนวัดผลาหาร 4. โรงเรียนเจริญวิทยา
5. โรงเรียนวัดมูลเหล็ก
- มีโรงเรียนประถมศึกษา 1 แห่ง (ภาคเอกชน)
1. โรงเรียนอุดมศึกษารังสิต
- การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) พรธิสาร หมู่ที่ 1
- มีโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง
1. โรงเรียนวัดมูลเหล็ก ระดับ ม.1 – ม.3 (ขยายโอกาส)
2. โรงเรียนอุดมศึกษารังสิต (ภาคเอกชน)
- โรงเรียนมัธยมศึกษานอกระบบ
1. โรงละครมรดกใหม่ ระดับ ม.1 – ม.6 (นอกระบบ)
2. โรงเรียนพระราหุล (วัดปัญญานันทาราม) ระดับ ม.1 – ม.6 (กรมศาสนา)
- ระดับอุดมศึกษา 1 แห่ง
1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- มีวัด 5 แห่ง
1. วัดหว่านบุญ
2. วัดผลาหาร
3. วัดปัญญานันทาราม
4. วัดมูลเหล็ก
5. วัดพุทธชินวงศ์วราราม
- ไม่มีมัสยิด ศาลเจ้า และโบสถ์
ด้านสาธารณสุข
- มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจาตาบล (เดิมเป็นสถานีอนามัย) 1 แห่ง
- มีโรงพยาบาล 1 แห่ง
- มีร้านขายยาแผนปัจจุบัน 10 แห่ง
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้า ร้อยละ 100 %
ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก อยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของสถานีตารวจภูธรคลองห้า และมีจุดตรวจย่อยพรธิสารอีก 1 แห่ง โดยมีการจัดเวรสายตรวจร่วมกับตารวจชุมชนตาบลคลองหก ตลอด 24 ชั่งโมง กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้จะขอความช่วยเหลือจากศูนย์ดับเพลิงจากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหกเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง เป็นราชการส่วนท้องถิ่น เป็นนิติบุคคล มีข้าราชการฝ่ายการเมือง และฝ่ายประจา มีการแบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 ส่วนราชการ ได้แก่ สานักงานปลัด , กองคลัง , กองช่าง ,กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และส่วนการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
1. ฝ่ายการเมือง 28 คน ได้แก่
- สภาองค์การบริหารส่วนตาบล มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตาบล 28 คน
2. คณะผู้บริหารฯ
- นายก อบต. 1 คน รองนายก อบต. 2 คน เลขานุการนายกอบต. 1 คน
3. ฝ่ายประจา มีพนักงานส่วนตาบล ลูกจ้างประจา และพนักงานจ้าง ดังนี้
จานวนบุคลากร จานวน รวม 79 คน แยกเป็นดังนี้
3.1. พนักงานส่วนตาบล จานวน 24 คน
3.2. ลูกจ้างประจา จานวน 4 คน
3.3. พนักงานจ้างตามภารกิจ จานวน 28 คน
3.4. พนักงานจ้างทั่วไป จานวน 23 คน
ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบล
- รถยนต์ส่วนกลาง จานวน 6 คัน
- รถบรรทุกขยะ จานวน 6 คัน
- รถบรรทุกน้า จานวน 3 คัน
- รถบรรทุกพืชผลทางการเกษตร จานวน 1 คัน
- รถจักรยานยนต์ จานวน 4 คัน
- รถกระเช้า จานวน 1 คัน
องค์การบริหารส่วนตำบลมีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้าหลายแห่งได้แก่คลองส่งน้ำที่ 6 คลองแอน 5-6 และคลองแอน 6 - 7 สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทาการเกษตร ประชาชนส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพทานา ทาสวน ทาไร่ เลี้ยงสัตว์ มีที่ดินเป็นของตนเอง บางส่วนเช่า สปก. หรือเช่าที่ดินเอกชน และมีบางส่วนที่ทางานในโรงงานอุตสาหกรรมทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ ประกอบธุรกิจส่วนตัว ค้าขาย และลูกจ้างบริษัท
ด้านแหล่งท่องเที่ยว มีความพยายามจากหน่วยงานหลายฝ่ายที่จะผลักดันให้สระเก็บน้าพระราม 9 เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
ด้านการศึกษา มีโรงเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่พอเพียงต่อการรองรับการศึกษา อีกทั้งเป็นสถานที่ตั้งของสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา คือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ด้านการคมนาคม มีการคมนาคมสะดวกสบาย มีถนนเชื่อมติดต่อระหว่างตำบลที่สะดวกรวดเร็ว โดยมีการประสานแผนพัฒนาระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลใกล้เคียง เทศบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี เพื่อประสานงานด้านงบประมาณและการจัดสรรงบประมาณทำให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะการก่อสร้างถนนลาดยางเพื่อเชื่อมต่อระหว่างตำบล หมู่บ้าน มีรถโดยสารประจาทางหลายสายทาให้การเดินทางสัญจรเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว
ด้านเศรษฐกิจ มีตลาดนัดสินค้าราคาถูกให้บริการตำมจุดต่างๆ ทั้งสัปดาห์ มีร้านสะดวกซื้อในพื้นที่ มีห้างหุ้นส่วน บริษัท ที่รองรับประชาชน ต่อการพัฒนาในอนาคต
ด้านศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีสถานที่ประกอบกิจกรรมด้านศาสนา เพื่อเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ต่อการดารงชีวิต ของประชาชน และมีวิถีชีวิตบนพื้นฐาน ความรัก สามัคคี เป็นเสมือนญาติพี่น้องมาช้านานตั้งแต่สมัยอดีต มีการเสียสละต่อส่วนรวมรักความถูกต้องและยุติธรรม มีความพร้อมที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองตำมหลักประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข